top of page

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และผลกระทบต่อถ่ายภาพ

PDPA หรือ Personal Data Protection Act, B.E. 2562 คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งกฎหมายนี้ มีความเกี่ยวข้องกับ วิชาชีพการถ่ายภาพและสื่อต่าง ๆ
โดยมี "ผู้ควบคุมข้อมูล" ซึ่งจะเป็นคนในองค์กรหรือคนทั่วไปก็ได้ ถือว่าเป็น "ผู้ควบคุมข้อมูล" ทั้งหมด

PDPA กับการถ่ายภาพ 2 ประเด็นหลักที่สำคัญ 1. การถ่ายภาพเพื่อนำมาลง FB / IG หรือ Social อื่น ๆ ที่ไม่ได้ถ่ายเพื่อหวังผลทางการค้า หรือไม่ได้สร้างรายได้จากภาพนั้น ๆ สามารถโพสต์ได้โดยไม่ได้ผิด PDPA ข้อควรระวัง : หากภาพนั้นสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น อาจโดนฟ้องละเมิดได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับ PDPA เช่น มุขเลนส์โฟกัสเสีย แล้วไปโฟกัสคนอื่น ถ้าเราโพสต์สนุก ๆ ก็ไม่ได้ผิด PDPA แต่ถ้าภาพนั้นสร้างความเสียหายให้คนในรูป ไม่ว่าจะเป็นท่าทางของเขา แคปชั่นของผู้โพสต์ หรือ คอมเมนต์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องในการละเมิดได้

2. การถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้ ถ่ายภาพงานรับปริญญา งานแต่ง งานอีเว้นท์ ฯลฯ กรณีนี้ต้องดูสัญญาที่ระบุไว้ เช่น สัญญาระบุไว้แค่ส่งรูปให้ลูกค้าคือจบ แต่บังเอิญงานนั้นมีภาพสวย ๆ เยอะ แล้วอยากเอาภาพงานนั้นมาลงโปรโมตในเพจ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้จ้างก่อนว่าเขาอนุญาตไหม ส่วนกรณีการถ่ายงานรับปริญญาแล้วมีหน้าคนอื่นเข้ามาในเฟรมภาพเรา ก็ต้องดูว่า ท่าทาง ใบหน้า ของสร้างความอับอายให้เขาหรือไม่? กรณีงานอีเว้นท์ : "ผู้ควบคุมข้อมูล" คือเจ้าของงาน เพราะช่างภาพคือ "ผู้ถูกจ้าง" ไปเก็บภาพบรรยากาศ แต่อาจมีกรณีผู้ร่วมงานบางท่านไม่อยากให้ตัวเองถูกถ่ายรูป เจ้าของงานต้องจัดการแก้ปัญหานี้ด้วยตนเอง อาจแปะสติ้กเกอร์หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อบ่งบอกถึงผู้ร่วมงานที่ไม่อยากถูกถ่ายรูป

PDPA กับ VLOG , VDO Content ต่าง ๆ ต้องดูเป็นกรณีไปว่า ทำเพื่อการค้าหรือหวังผลรายได้ในอนาคตหรือไม่ (เช่น สปอนเซอร์เข้า หรือ รายได้จาก Youtube) ถ้าทำสนุก ๆ ไม่เป็นอะไร แต่ถ้าทำเพื่อหวังรายได้ ก็ต้องดูว่า VDO ที่เราถ่ายแล้วติดคนอื่นมาว่าอยู่ในสถานที่แบบไหน ถ้าเป็นที่สาธารณะหรือสถานที่ที่สามารถถ่าย VDO ได้ ก็ไม่เข้าข่าย PDPA เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ทุกคนควรรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสที่จะถูกถ่ายรูปหรือ VDO ข้อควรระวัง : ต้องดูท่าทาง ใบหน้า ของคนที่เข้าเฟรมว่าสร้างความอับอายให้เขาหรือไม่ ** PDPA กับรีวิว หรือ ถ่ายภาพเพื่อทำ Content ต่างๆ ใช้เงื่อนไขเดียวกับ VLOG **

ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับภาพที่ถูกถ่ายว่าอยู่ในสถานที่แบบไหน ภาพสร้างความอับอาย สร้างความเสียหายให้คนในภาพหรือไม่ ถ้าเข้าใจตรงจุดนี้ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล และแน่นอนว่า ช่างภาพหรือคนชอบถ่ายรูปส่วนใหญ่ ระมัดระวังเรื่องดังกล่าวเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก facebook Tavepong Pratoomwong "Breaking Live !!! ร่วมกันทำความเข้าใจ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA )"

ดู 1,208 ครั้ง
bottom of page