top of page

กว่าจะมาเป็น E-book (ตอนจบ)

E-book คืออะไร

E-book ย่อมาจาก Electronic Book หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถสั่งพิมพ์ได้ตามต้องการผ่านเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ ยังสามารถปรับปรุงและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือทั่วไป

รูปแบบของ E-book

สามารถสร้างได้ 4 รูปแบบ คือ

Hyper Text Markup Language (HTML)

HTML : รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด HTML เป็นภาษามาร์กอัปที่ออกแบบมาเพื่อใช้สร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บ Browser พัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดันรูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้าง XML แบบหนึ่ง ที่มีหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกว่า มาทดแทนการใช้ HTML รุ่น 4.01 (ในปัจจุบัน)

HTML เป็นรูปแบบไฟล์สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร

Portable Document Format (PDF)

PDF : หรือ Portable Document Format พัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดเอกสารให้อยู่ในรูปแบบเอกสารพร้อมพิมพ์ สามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการจำนวนมาก รวมถึงอุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสาร PDF สามารถจัดเก็บตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะหน้าหนังสือ ได้หลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน PDF เป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรม เพื่อทำงานร่วมกับ PDF ได้

งาน PDF เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ แตกต่างจากการใช้รูปแบบ Browser

Peanut Markup Language (PML)

PML : พัฒนาโดย Peanut Press ใช้สำหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะ อุปกรณ์พกพาที่สนับสนุนไฟล์ประเภทนี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .pdb ด้วย

Extensive Markup Language (XML)

XML: เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดย W3C ใช้เพื่อไว้ติดต่อในระบบที่แตกต่างกัน (เช่น ใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน)เป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML ซึ่งพัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนน้อยลง XML ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน

ข้อดี-ข้อเสียของ E-Book

ข้อดีของ E-Book

1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก

2. ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพราะไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาทำกระดาษ

3. เก็บรักษาง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ

4. ค้นหาข้อความได้

5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ E-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)

6. อ่านได้ทั้งที่มืดและแสงน้อย

7. ทำสำเนาง่าย

8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่า

9. ไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ และอ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

10. เพียงคลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที

ข้อเสียของ E-Book

1. ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่

2. สุขภาพตาอาจเสียได้ เนื่องจากผลกระทบจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

3. อาจพบปัญหาการลง hardware หรือ software ใหม่

4. ต้องดูแลไฟล์ไม่ให้เสียหรือสูญหาย

5. การอ่านลักษณะนี้อาจเกิดอันตรายต่อสายตา

7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย

8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น

ประโยชน์สำหรับห้องสมุด

1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ

2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ

4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ

5. มีรายงานหรือตัวเลขแสดงการอ่านหนังสือ

ประโยชน์สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน

1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ

2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ

3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่น ๆ

4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ

5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ถึงผู้อ่านโดยตรง

หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ E-Book หรือ อยากจัดทำ E-Book เรามีคำแนะนำและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทีมงานมืออาชีพ

ติดต่อสอบถามได้ที่ Core&Peak : AD & PR Agency

Tel. 02-439-4600


ดู 762 ครั้ง
bottom of page