top of page

สินค้าและบริการที่ใช่ โดนใจผู้สูงวัยปี 2020


สังคมผู้สูงวัยคือสังคมไทยในยุคนี้ เพราะปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถดูแลร่างกายและจิตใจตนเองให้แข็งแรงได้ในระยะยาว


ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันกับสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย “สินค้าและบริการที่ใช่” และโดนใจผู้สูงวัย จึงมีความจำเป็นมาก เพราะพวกเขาต้องการให้ตนเองสามารถดำรงชีวิตด้วยความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอัตภาพ โดยที่ความร่วงโรยของวัยและกำลังซื้อ ไม่ใช่ปัญหาของพวกเขาเลย


1. เวชภัณฑ์ด้านสุขภาพและบริการดูแลสุขภาพ

โรคของกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มเป็นโรคเรื้อรังมากกว่า 60 - 70% และมี 1 โรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ภาวะสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ โรคอ้วนลงพุง

ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ยาและเวชภัณฑ์การดูแลสุขภาพ ที่มุ่งเน้นการป้องกันและรักษา อุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน และการดูแลอำนวยความสะดวกในการดูแลสุขภาพ


2. ระบบการเงินผู้สูงวัย

รัฐมีภาระที่จะต้องจ่ายภาระเบี้ยหวัดบำนาญมากขึ้น ซึ่งกองทุนบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ และจะเปลี่ยนจากกองทุนรัฐเป็นของเอกชนเพื่อมาช่วยแบกภาระ

ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

บริษัทประกันภัย ประกันชีวิต ประกันการเกษียณอายุ , การออม , การจัดการสินทรัพย์ การบริหารกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs


3. สินค้าอุปโภค บริโภค

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อย หรือผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อย


กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาคือ อาหารที่มาจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมาก คือ วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกส์ (Organics) ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพร ผู้สูงอายุให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี


หากผู้ประกอบการไทยสามารถประยุกต์ภูมิปัญญาไทย โดยนำสมุนไพรท้องถิ่นที่มีสรรพคุณต่อต้านริ้วรอย (Anti-Ageing) ยกกระชับ ลดรอยกระจุดด่างดำ ผนวกกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ของคนไทยเพื่อคนไทย


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

การดูแลสุขภาพ การดูแลความตาย บริการเสริมความงามและเครื่องสำอาง , แฟชั่น , ค้าปลีกและเทคโนโลยี


4. การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ

การเดินทางที่มีกิจกรรมเบา ๆ น้อย ๆ ใช้เวลาท่องเที่ยวแต่ละสถานที่นาน แวะพักเพื่อเข้าห้องน้ำคือสิ่งสำคัญ และมีการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในรถ

สินค้าที่จำหน่ายในระหว่างเส้นทางท่องเที่ยว อาจใช้ชื่อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

การท่องเที่ยวและสันทนาการ สถานที่ท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของนักท่องเที่ยว


5. ธุรกิจบริการผู้สูงวัย

มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางรายในญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาเปิดบริการให้เช้าขึ้น นอกจากนี้ ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ยังเพิ่มบริการรับจัดงานศพแบบเรียบง่ายในราคาย่อมเยาว์ เนื่องจากบริษัทรับจัดงานศพใหญ่ ๆ ในญี่ปุ่น มีค่าบริการที่สูง


ร้านกาแฟหรือร้านอาหาร ออกแบบทางเดินให้กว้างขวาง เพื่อให้สะดวกต่อการใช้รถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเดิน เก้าอี้แข็งแรงมากขึ้น ส่วนโต๊ะจะมีขนาดเตี้ยกว่าร้านอาหารทั่ว ๆ ไป เมนูอาหารเน้นรับประทานและเคี้ยวง่าย เน้นพนักงานบริการเป็นพิเศษ


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าต่าง ๆ


6. วัสดุก่อสร้าง - อุปกรณ์

กลุ่มผลิตภัณฑ์ในการสร้างและตกแต่งบ้านที่ช่วยซัพพอร์ตเรื่องความปลอดภัยภายในบ้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย

ก๊อกน้ำ ที่ออกแบบมาให้ปัดไปด้านข้างมากกว่าแบบหมุนหรือกด หรือลูกบิดประตูแบบก้านโยก ที่จับถนัดมือ สวิทซ์และปลั๊กไฟ ที่มีขนาดใหญ่


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ผู้ผลิตและร้านขายวัสดุและอุปกรณ์ (Hardware) ประเภทต่าง ๆ


7. เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ

ข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตเนื่องจากสภาพร่างกายที่ร่วงโรยไปตามกาลเวลา ผู้ประกอบการจึงออกแบบเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านที่เน้นอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น

เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ ฯลฯ


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ผู้ผลิตและร้านขายเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ภายในบ้าน


8. อสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ

ธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่ได้รับประโยชน์จากสังคมผู้สูงอายุ โดยระยะแรกธุรกิจที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุจะเป็นแบบระยะสั้น ๆ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้าเย็นกลับ (Daycare) และการพักฟื้นระยะยาว (Longstay) โดยแบบระยะยาวมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะได้รับแรงผลักดันจากผู้สูงอายุคนไทยและชาวต่างชาติ


ผู้ประกอบการไทย ควรปรับตัวและติดตามพฤติกรรมของสังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป รวมถึงศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตลาดคนไทย


ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

การดูแลผู้สูงอายุ

ดู 6,747 ครั้ง
bottom of page