top of page

เศรษฐกิจหลัง Covid-19

ยังคงเกาะติดเรื่อง Covid-19 อย่างต่อเนื่อง เพราะการแพร่ระบาดของโรคในครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้


เศรษฐกิจ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน แม้จะมีความไม่แน่นอนของสถาการณ์ในครึ่งปี 2563 นี้ แต่ภาพรวมของเศรษกิจโลกและเศรษฐกิจบ้านเราก็มีความแน่นอนจากปัญหาการจ้างงาน อีกทั้งยังมีเรื่องของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรายวันยังอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าจับตามองทั้งบ้านเราเองและระหว่างประเทศด้วย


ครึ่งปี 2563 จะส่งผลกระทบและทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราพอจะจำแนกได้ ดังต่อไปนี้

1. เก็บออมและระวังใช้จ่ายมากขึ้น

ด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้พฤติกรรมการเก็บออมมีมากขึ้นและระมัดระวังในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในครัวเรือนลดลง


ในส่วนของภาครัฐ หนี้สาธารณะระยะสั้นยังไม่น่ากังวล เพราะยังมีทรัพยากรทางคลังในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือและเยียวยาธุรกิจที่ประสบปัญหา เพื่อฟื้นฟูให้ฟื้นตัวหลังจากช่วงผ่อนคลายล็อกดาวน์

2. ไทยเที่ยวไทย ช่วยการท่องเที่ยวให้รอด!

ปีนี้ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือเพียง 9.8 ล้านคน จาก 40 ล้านคนในปี 2562 การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย จึงเป็นความหวังที่จะเป็นพลังปลุกให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง


โดยการท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงเวลาแรก หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จะเกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวในกลุ่ม Millennials เป็นกลุ่มหลัก ที่เดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบค้างคืนในแหล่งท่องเที่ยวที่มีระยะใกล้ ๆ ที่ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง โดยเลือกพักในโรงแรมระดับกลาง มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนแบบนี้

3. ภาคครัวเรือน แม้จะมีมาตรการกับภาครัฐ แต่ยังมีปัจจัยลบอื่น ๆ

แม้ภาครัฐจะมีมาตรการเยียวยาระบบเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยลบอื่น ๆ ที่ทำให้ภาคครัวเรือนมีความเปราะบาง เช่น ความเชื่อมั่น ความมั่งคั่ง การจ้างงานและรายได้ และกันชนทางการเงิน ทำให้คนไทยมีแนวทางในการออมมากขึ้น

4. 3 ธุรกิจใช้เวลาฟื้นตัวนาน

ธุรกิจท่องเที่ยว รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ 3 อุตสาหกรรมสำคัญที่คงต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าอุตสาหกรรมอื่น โดยธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งมีแรงงานในห่วงโซ่มากถึง 4 ล้านคน จะเป็นธุรกิจที่ภาครัฐพุ่งเป้าหมายการเยียวยาไปที่ธุรกิจและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเป็นอันดับต้น ๆ

5. อัตราจ้างงานเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาทต่อเดือน มีเพิ่มขึ้น!

ตลาดแรงงานไทยอ่อนแอตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 โดยไตรมาสแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับการหายไปของจำนวนนักท่องเที่ยว และมาตรการล็อกดาวน์ประเทศของภาครัฐ มีอัตราการจ้างงาน 37.18 ล้านคน ลดลง 0.8% จาก 37.50 ล้านคนในไตรมาสแรกปี 2562 ไตรมาสที่ 2 มีอัตราการจ้างงาน 37.69 ล้านคน ลดลง 0.4% จาก 37.78 ล้านคนในไตรมาสแรกปี 2562 และไตรมาสที่ 3 มีอัตราการจ้างงาน 37.34 ล้านคน ลดลง 1.1% จาก 37.77 ล้านคนในไตรมาสแรกปี 2562 (จากการวิเคราะห์ของ EIC)


นอกจากนี้ มีการประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งงานที่มีเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากกิจการเลิกจ้างงานลูกจ้างในกลุ่มนี้จากการล็อกดาวน์ประเทศในช่วงที่ผ่านมา

6. การส่งออกยังกระทบปริมาณและราคา

IEC คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกปี 2563 จะหดตัวลดลง 10.4% จากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย 4% และฟื้นตัวช้า ที่มีผลกระทบกับการส่งออกไทยทั้งปริมาณและราคา จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่หดตัวแรง เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันมูลค่าส่งออกไทยที่อิงกับราคาน้ำมัน เช่น สินค้าเชื้อเพลิง ปิโตรเลียมและเคมี เกิดการลดลงของราคาสินค้าที่มีผลกระทบต่อรายได้ในการส่งออก ส่วนสินค้าส่งออกอื่น ๆ เช่น สินค้าการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป ได้รับผลกระทบจากการมีคู่แข่งเพิ่มเช่นกัน


นอกจากนี้ การส่งออกไทย ยังประสบกับปัญหาด้านการผลิตและขนส่งจากการล็อกดาวน์ของประเทศต่าง ๆ

แม้โควิดจะทำพิษ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งไทยและเทศหยุดชะงัก แต่เชื่ออยู่ลึก ๆ ว่า จะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติใหม่ (New normal) ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาสักระยะ การรอคอยยังกลมกล่อมเสมอ เศรษฐกิจก็เช่นกัน









ดู 17 ครั้ง
bottom of page