top of page

โฆษณาปังสุด ๆ ฉุดไม่อยู่ กับ 10 ทักษะง่าย ๆ

วงการเอเจนซี ‘โฆษณา’ ก็ไม่อาจต้านทานผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 ได้ จึงต้องมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่เพื่อให้ "อยู่รอดและได้ไปต่อ" กับความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกรูปแบบในยุค "New normal" แบบนี้


‘ทักษะ’ หรือ skill จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่เราจะต้องเปิดรับและปรับตัว เพื่อให้เท่าทันด้วยการมองหาทักษะใหม่ ๆ ซึ่งเป็นแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน

จากการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความกังวลสูงสุดกับสถานการณ์ต่างๆ รวม 3 ทักษะ คือ

1. ทักษะการทำความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้า

แทนที่จะเป็นเพียงคู่ค้ากันเหมือนสมัยก่อน ปัจจุบันเราต้องเข้าใจธุรกิจของลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อสามารถนำมาปรับแผนการหรือกลยุทธ์ให้ตรงตามความต้องการของ ‘ธุรกิจของลูกค้า’ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อมูลต่าง ๆ มีความสำคัญในการนำมาวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดเส้นทางที่จะทำการตลาดให้กับลูกค้า ซึ่งทักษะการทำความเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ของลูกค้า ถือเป็นพื้นฐานของคนทำงานโฆษณา แต่ ณ ตอนนี้ เราจำเป็นต้องรู้และนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทั้งตัวลูกค้าเองและตัวกลุ่มเป้าหมายด้วย ถ้าหากเราไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ตอบสนองลูกค้าได้ตรงจุด เอเจนซีเหล่านั้นอาจจะตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปได้ไม่ดีพอ


2. ทักษะการเป็น ‘ที่ปรึกษา’ มากกว่า ‘คู่ค้า’

แนวทางการใช้งบประมาณของธุรกิจในช่วงโควิดทำให้เกิดการปรับตัวในธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น การไปเน้นเรื่องของ E-commerce มากขึ้น จนทำให้เกิดการเติบโตในส่วนนี้ของแต่ละธุรกิจเป็นอย่างมาก และต่อให้เป็นช่วงหลังโควิดหมายความว่าส่วน E-commerce หรือส่วนอื่น ๆ ที่เติบโตขึ้นในช่วงโควิด มันสามารถพัฒนาและต่อยอดได้

เอเจนซีจึงต้องเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า จากเดิมที่แค่รับและทำงานตามคำสั่งของลูกค้า หลังจากนี้เราต้องรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้า พัฒนา Data ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมให้กับลูกค้าด้วย


3. ทักษะได้คืบแต่อยากให้ศอก (ตอบสนองให้มากกว่าความต้องการ)

เราจำเป็นต้องทำงานด้วยแนวคิดที่ว่า เราจะต้องให้อะไรบางอย่างมากกว่าที่ลูกค้าต้องการ เพราะหากมองกันในเรื่องของ Data ทางเอเจนซีจะมีความได้เปรียบของการสะสมและมองหา Data ในวงกว้างได้มากกว่าตัวบริษัท ที่มีเฉพาะ Data ของธุรกิจตัวเอง เอเจนซีทั้งหลายควรจะให้ความสำคัญกับข้อได้เปรียบตรงนี้ หากลูกค้าเจ้าไหนที่มี Data ที่เพียงพอและสามารถบรีฟเอเจนซีได้ดีก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากว่าลูกค้าเจ้าไหนไม่ได้มี Data ที่มากพอ เราก็จำเป็นที่จะต้องสนับสนุนส่วนนั้น เพื่อมองหาแนวทางและสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ นำไปสู่การตอบสนองความต้องการ ได้มากกว่าแค่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเสียอีก

ผลสำรวจ Consumer Sensing ยังเสนอผลศึกษาในรายละเอียดต่อโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างตระหนักและตระหนกกับการขยายตัวเป็นวงกว้างของโควิด-19 เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพและความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบกับการรับข้อมูลอย่างมากมายมหาศาลผ่านทุกช่องทาง จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลใจมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในมาตรการรับมือของภาครัฐ ในการจัดการสินค้าเกี่ยวกับการป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และเจลล้างมือยังขาดตลาดและมีราคาแพง การไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ที่กลับจากประเทศที่มีความเสี่ยง และการกลับมาของผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจากประเทศเสี่ยงอีกด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อความรู้สึก


อันดับ 1 โดยผู้บริโภคทั่วประเทศกังวลกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึง 92%

อันดับ 2 วิตกกังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจ 85%

อันดับ 3 วิตกกังวลกับความไม่ปลอดภัยในชีวิต หรือ กังวลกับสถานการณ์การเมือง ถึง 40%

อันดับ 4 วิตกกังวลกับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ 20%

(ส่วนสวัสดิภาพการทำงานและการเรียนผู้บริโภควิตกกังวลเพียง 17%)

เมื่อ โควิด-19 ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน และเทคนิคการทำโฆษณา ก็ต้องเปลี่ยน

จากการสำรวจยังพบว่าคนกรุงเทพและปริมณฑลมีความกังวลกับเรื่องไวรัสโควิด-19 มากกว่าคนในต่างจังหวัด และผู้หญิงจะมีความกังวลสูงมากกว่าผู้ชายถึง 40% นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีการปรับพฤติกรรม เช่น พยายามหลีกเลี่ยงที่ชุมชน หรือที่ที่มีคนเยอะๆ งดการใช้บริการรถยนต์สาธารณะ และเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สื่อออนไลน์ในการสั่งซื้อสินค้าและรับข่าวสารมากขึ้น


สำหรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ในการสำรวจพบว่าผู้บริโภคใช้รถแท็กซี่ ลดลง 35% การเดินทางด้วยรถประจำทาง รถไฟฟ้า BTS และ MRT ลดลงถึง 33% ในขณะที่การใช้รถยนต์ส่วนตัว เพิ่มขึ้น 22% โดยผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นในส่วนนี้ว่า “กิจกรรมบางอย่างที่ทำเป็นประจำ เช่น เข้าฟิตเนส การใช้บริการรถสาธารณะแต่ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้แต่จะพยายามนั่งเบาะเดี่ยว ใช้หน้ากากอนามัย มีแอลกอฮอล์เจลติดตัว ไม่สัมผัสอะไรถ้าไม่จำเป็น


การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้บริโภคนอกจากจะลดการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะและระบบขนส่งสาธารณะแล้ว ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น ส่งผลให้การใช้บริการเดลิเวอร์รี่ และการช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ เพิ่มขึ้น 28% และการช้อปปิ้งออนไลน์ เพิ่มขึ้น 26% ตามลำดับ


พฤติกรรมการรับสื่อเปลี่ยน: ติดตามข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น

Consumer Sensing ยังสำรวจพบด้วยว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้ผู้บริโภคติดตามข่าวสารความคืบหน้าประเด็นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกรับข่าวสาร อับเดตข้อมูลประเด็นร้อนจากเพจของสำนักข่าว ทั้งใน Platform เฟซบุ๊ก และ ทวิตเตอร์ ของสำนักพิมพ์และสื่อต่าง ๆ เพราะเชื่อถือได้มากที่สุด


“จากผลการสำรวจการรับข่าวสารจากสื่อในช่วงนี้ พบว่า Platform ทวิตเตอร์ เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจผู้โภคติดตามข่าวสารสื่อออนไลน์สูงถึง 57% อย่างไรก็ตาม ข่าวสารจากทางโทรทัศน์ก็ยังได้รับความนิยมเช่นเดิม โดยผู้บริโภคเปิดรับข่าวสารสูงถึง 42% และพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะติดตามข่าวสารทั้งสื่อโซเชียลหรือรายการโทรทัศน์จากสมาร์ทโฟน


โควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับการวางแผนสื่อโฆษณา

Consumer Sensing ยังรายงานด้วยว่า ความวิตกกังวลสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะโควิด-19 สถานการณ์เศรษฐกิจและความปลอดภัยในที่สาธารณะ ส่งผลให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินชีวิตอย่างมีนัยที่น่าสนใจ โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยสะท้อนผ่านพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ผู้บริโภคเริ่มซื้อสินค้าที่เก็บได้นานมากขึ้น เช่น อาหารแห้ง และอาหารแช่แข็ง เพื่อเก็บไว้ได้นานไม่ต้องออกจากบ้านบ่อย และเผื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ เมื่อถามถึงสิ่งที่ซื้อเก็บไว้พบว่าส่วนใหญ่จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการปกป้องป้องกัน (Prevention kit) เวชภัณฑ์ อาหารแห้ง น้ำดื่ม ของใช้ส่วนตัว อาหารสำหรับเด็ก และของใช้ในบ้าน เป็นหลัก


นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่กว่า 50% เห็นว่าต้องออมเงินไว้ เพราะไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น อีกทั้งเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย จะทำให้เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง สินค้าราคาแพง สินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าทดแทนของที่มีอยู่ก็เลื่อนการซื้อออกไปก่อน เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนและทองคำ ตามลำดับ ในทางกลับกันสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพได้รับความสนใจที่จะซื้อ หรือมีแผนที่จะซื้อในระยะนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ สินค้ากลุ่มประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต เป็นต้น


หากคุณกำลังมองหา เอเจนซี ที่ผลิตงานโฆษณาแบบมืออาชีพ เรา CORE & PEAK มีทีมงานมืออาชีพ ที่จะช่วยสรรสร้างงานโฆษณาที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของคุณอย่างแน่นอน


สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำ advertising ติดต่อสอบถามได้ที่

Core&Peak : AD & PR Agency

Tel. 02-439-4600






ดู 449 ครั้ง
bottom of page